ไม่มีสินค้าในตะกร้า
DATE : มีนาคม 22, 2022 By : admin
สำหรับไม้ใบที่เป็นที่นิยมในหมู่คนปลูกต้นไม้ ที่จะไม่พูดถึงเลยไม่ได้ นั่นก็คือ ไม้สกุล ‘‘อโลคาเซีย’’ หรือ ‘‘ไม้ตระกูลบอน’’ นั่นเอง เป็นไม้ที่เรามักพบเห็นกันบ่อย และมีหลากหลายสายพันธุ์มากๆ แต่เราเคยสงสัยกันไหมว่า ไม้พวกนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จักไม้ประเภทนี้ให้มากขึ้นกันเถอะครับ
“อโลคาเซีย” เป็นไม้ที่จัดอยู่ในวงศ์ Araceae วงศ์เดียวกับไม้ยอดฮิตที่เราอาจคุ้นเคยกันดี เช่น มอนสเตอรา ฟิโลเดนดรอน เป็นต้น ลักษณะเด่นของไม้อโลคาเซีย คือ การมีลำต้นที่มีลักษณะเป็นเหง้ายาวอยู่ในดิน และส่วนของลำต้นเหนือดินจะเป็นการซ้อนทับกันของกาบใบ นอกจากนี้รูปแบบการแตกหน่อของอโลคาเซียจะเป็นการแตกหน่อบริเวณใกล้เคียงกับต้นเดิมอีกด้วย
ด้วยลักษณะที่เป็นไม้ใบเขตร้อน พวกมันจึงชอบความชุ่มฉ่ำเป็นที่สุด แต่ไม่ถึงกับแฉะจนเกินไป ควรปลูกในพื้นที่ที่น้ำสามารถเข้าได้ทั่วถึง วัสดุที่ใช้ปลูกควรระบายน้ำได้ดี และควรตั้งไว้บริเวณที่มีแสงรำไร ไม่ควรตั้งให้โดนแสงโดยตรง เพราะไม่สามารถทนต่อแดดได้นานนั่นเอง
1. บอนโอกินาวา (Alocasia Okinawa Silver)
ใบโค้งสวยงาม ปลายใบมีลักษณะแหลมคล้ายใบโพธิ์ บริเวณหูของใบจะไม่อยู่ชิดกับสะดือใบเหมือนบอนชนิดอื่น การด่างจะเกิดสีขาวเงินขึ้นบริเวณใบ
2. บอนหูช้างด่างเหลือง (Alocasia Gageana Aurea Var.)
ใบมันและมีการหยักเล็กน้อยบริเวณขอบใบ ก้านใบจะมีลักษณะคล้ายหูของช้าง และตรงส่วนปลายใบมีลักษณะคล้ายงวงของช้าง การด่างจะเกิดสีเหลืองครีมแซมขึ้นบริเวณใบ
3. ต้นมังกรกำมะหยี่ (Alocasia Black Velvet)
ใบหนาสีเขียวเข้ม มีลักษณะเป็นรูปทรงหัวใจกลมมน หน้าใบนุ่มคล้ายผ้ากำมะหยี่ มีเส้นสีเงินตัดเป็นลวดลาย
4. ต้นเกล็ดมังกร (Alocasia Dragon Scale)
ใบหนาและเงางาม มีลายใบที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ บริเวณหน้าใบมีสีเหลืองสว่างแซมสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นสีอ่อนและมีแกนเป็นสีม่วงอมแดง
มาถึงช่วงท้ายกันแล้ว ต้องบอกเลยว่าไม้สกุลอโลคาเซียเป็นไม้ใบที่มีลักษณะสวยงามและโดดเด่นมากๆ และยังเป็นที่นิยมในหมู่คนปลูกต้นไม้อีกด้วย เมื่อรู้แบบนี้แล้ว อยากให้ทุกคนลองเปิดรับพวกมันไว้ในอ้อมอกอ้อมใจดู นี่อาจเป็นต้นไม้ที่คุณกำลังตามหาก็เป็นได้ สุดท้ายนี้ ถ้าหากคุณกำลังมองหาต้นอโลคาเซียหรือสนใจไม้สักต้น แต่ยังลังเล เลือกไม่ถูก ไม่เข้าใจ ทางเรายินดีให้คำปรึกษาและจัดหาต้นไม้ที่ดีที่สุดให้แก่คุณ
แล้วเจอกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีคร้าบ
อ้างอิง:
0 thoughts on “มาทำความรู้จักไม้สกุล ‘‘อโลคาเซีย’’ กันเถอะ”