มาทำความรู้จักกับไม้สกุลซินแด็ปซัส (Scindapsus) กัน!

DATE : มิถุนายน 22, 2023 By :

ซินแด็ปซัส (Scindapsus)
มาทำความรู้จักกับไม้สกุลซินแด็ปซัส (Scindapsus) กัน!

          หากใครเคยดูสินค้าบนเว็บของเรา ก็น่าจะเคยเห็นไม้สกุล “ซินแด็ปซัส (Scindapsus)” ผ่านตากันมาบ้างแล้ว บางคนอาจจะสงสัยว่าเจ้าไม้สกุลนี้คืออะไร มีที่มาจากไหน ปลูกยังไง เอาเป็นว่าหากใครไม่คุ้นชื่อเจ้าไม้สกุลซินแด็ปซัสก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้เราจะมาแนะนำไม้สกุลซินแด็ปซัสให้ทุกคนได้รู้จักกัน เอาล่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเล้ยยยยย

 

ที่มาของไม้สกุลซินแด็ปซัส (The Origin of the Scindapsus)

          ไม้สกุลซินแด็ปซัส (Scindapsus) เป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์ Araceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย และหมู่เกาะโซโลมอน ชื่อของ Scindapsus ในภาษากรีกมีความหมายว่า บนลำต้น เนื่องจากเป็นไม้เลื้อยที่มักถูกพบในป่า ต้นซินแด็ปซัสมีจุดเด่นอยู่ที่เถาสีเขียวเต็มไปด้วยใบแสนสวย ซึ่งมีขนาดและสีหลากหลายตามแต่ละสายพันธุ์ นอกจากนี้ซินแด็ปซัสยังคล้ายกับไม้ขึ้นชื่ออย่างอิพิพรีมนัม (Epipremnum) อีกด้วย

ลักษณะของไม้สกุลซินแด็ปซัส (The Characteristics of the Scindapsus)

          ไม้สกุลซินแด็ปซัส (Scindapsus) เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็ก มีลักษณะเด่นอยู่ที่ใบรูปหัวใจเรียงตัวกันสลับซ้ายขวาบนเถาสีเขียว ซึ่งไม้สกุลนี้สามารถเลื้อยได้ไกลึง 3 เมตรเลยทีเดียว 

 

เมื่อรู้จักที่มาของไม้สกุลซินแด็ปซัสกันแล้ว ต่อไปเราจะมาแนะนำ 2 ไม้สกุลซินแด็ปซัสน่าปลูกให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะ 

 

ซินแด็ปซัส มายาริ  (Scindapsus Mayari)

ซินแด็ปซัส มายาริ  (Scindapsus Mayari)

          หากใครชอบไม้งามความหมายดีแนะนำ ซินแด็ปซัส มายาริ (Scindapsus Mayari)เลยค่า ชื่อ มายาริ (Mayari) มาจากนามของเทพีมายาริ เทพีแห่งการต่อสู้ การปฏิวัติ ความเท่าเทียมกัน ความงาม ความแข็งแกร่ง จันทรา และราตรี นอกจากนี้คำว่า “yari” ยังแปลว่า ‘สมบูรณ์’ หรือ ‘สมบูรณ์แบบ’ อีกด้วย รูปลักษณ์ของซินแด็ปซัส มายาริเองก็สวยงามน่าหลงไหลสมชื่อ ด่างขาวบนใบสีเขียวสดทำให้ดูเหมือนกับแสงจันทร์ที่ส่องสว่างยามค่ำคืน เจ้ามายาริยังมีด่างต่างกันด้วย ทั้งแบบด่างขาวจากเส้นใบหรือแบบด่างขาวทั่วทั้งใบที่รู้จักกันในชื่อฟลูมูนนั่นเองค่ะ

วิธีดูแลซินแด็ปซัส มายาริ (How to Care for the Scindapsus Mayari) 

          เนื่องจากซินแด็ปซัส มายาริเป็นไม้เลื้อยจึงสามารถปลูกได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระถาง พื้นดิน หรือแขวนบนพนังก็ตาม ปลูกในที่สว่างแสงแดดรำไรหรือใต้ร่มไม้จะดีที่สุด รดน้ำสม่ำเสมอ ไม่ควรใช้ดินที่แน่นเกินไปเพราะจะทำให้ระบายน้ำได้ไม่ดี และก่อให้เกิดปัญหารากเน่าได้ อย่าปล่อยให้สภาพแวดล้อมนั้นแห้งเกินไปเพราะจะใบเหี่ยว เท่านี้ซินแด็ปซัส มายาริของคุณก็จะเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แบบสมชื่อแล้วค่า

 

ซินแด็ปซัส เจดซาตินด่าง (Scindapsus Pictus Jade Satin Var.)

ซินแด็ปซัส เจดซาตินด่าง (Scindapsus Pictus Jade Satin Var.)

          ไม้สกุลซินแด็ปซัสที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ “ซินแด็ปซัส เจดซาตินด่าง (Scindapsus Pictus Jade Satin Var.)” นั่นเองค่าาา เจดซาตินด่างมีต้นกำเนิดอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศอบอุ่นและชื้นอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย และฟิลิปปินส์ จุดเด่นของมันคือใบรูปหัวใจสีเขียวหยกมีด่างสีขาวนวลประดับอยู่บนใบ ด้วยความที่เป็นไม้เลื้อยทำให้สามารถปลูกได้อย่างหลากหลาย วางประดับบนชั้นหนังสือก็ถือว่าเป็นจุดพักสายตาที่ดีเลย เพราะสีเขียวของเจ้าซินแด็ปซัส เจดซาตินด่างจะช่วยให้ดวงตาของคุณได้ผ่อนคลายค่ะ 

วิธีดูแลซินแด็ปซัส เจดซาตินด่าง (How to Care for the Scindapsus Pictus Jade Satin Var.)

          วิธีดูแลซินแด็ปซัส เจดซาตินด่าง (Scindapsus Pictus Jade Satin Var.) นั้นไม่ยุ่งยาก ควรปลูกในที่สว่างแต่ไม่โดนแดดโดยตรง หากปลูกไว้นอกบ้านให้ปลููกใต้ร่มไม้ที่มีแสงแดดรำไร ซินแด็ปซัส เจดซาตินด่างเป็นไม้เลื้อยจึงต้องระวังเรื่องการรดน้ำเป็นพิเศษเพราะอาจทำให้รากเน่าได้ ควรใช้วัสดุปลูกที่สามารระบายน้ำได้ดีอย่าง ดินขุยมะพร้าว มอส และเพอร์ไลต์ ไม่ควรปล่อยให้หน้าดินแห้ง หากใบเริ่มเหลืองแสดงว่าต้นไม้กำลังได้รับน้ำมากเกินไป ใช้ปุ๋ยบำรุงเพิ่มสารอาหารได้ เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถเพลิดเพลินไปกับความสวยงามของซินแด็ปซัส เจดซาตินด่างได้อย่างเต็มที่แล้วค่ะ

          เป็นไงกันบ้างคะสำหรับ “ไม้สกุลซินแด็ปซัส (Scindapsus)” ที่เราได้แนะนำให้ทุกคนไป น่าปลูกทุกต้นเลยใช่ไหมคะ สุดท้ายนี้ หากคุณกำลังมองหาซินแด็ปซัส เจดซาตินด่าง (Scindapsus Pictus Jade Satin Var.) และซินแด็ปซัส มายาริ  (Scindapsus Mayari) แต่ยังลังเล เลือกไม่ถูก ไม่เข้าใจ เรายินดีให้คำปรึกษาและจัดหาต้นไม้ที่ดีที่สุดเพื่อส่งออกจากไทยให้แก่คุณค่ะ

 

แล้วเจอกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีค่าาา

 

อ้างอิง:

Share this:
M.E. Greenery Export
0 thoughts on “มาทำความรู้จักกับไม้สกุลซินแด็ปซัส (Scindapsus) กัน!”

Leave a Comment

Your email address will not be published.