“อโลคาเซีย แบมบิโนด่าง” ไม้ฟอกอากาศเจ้าเสน่ห์ที่ทุกคนหมายปอง

DATE : กันยายน 21, 2022 By :

Bambi 01

          หลายคนคงรู้จักต้นไม้ตระกูลอโลคาเซียอย่างแก้วสารพัดนึกกันดีอยู่แล้ว แต่คุณรู้ไหมว่าจริง ๆ แล้วแก้วสารพัดนึกที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้มีทั้งแก้วสารพัดนึกเพศเมียและแก้วสารพัดนึกเพศผู้? ดังนั้นวันนี้เราจะมาเล่าประวัติความเป็นมาของเจ้าอโลคาเซีย แบมบิโนด่างให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเล้ยยยย

 

ที่มาของอโลคาเซีย แบมบิโนด่าง

Bambi 04

          อโลคาเซีย แบมบิโนด่างหรือแก้วสารพัดนึกเพศเมียอยู่ในตระกูล Arum (Araceae) มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย เจ้าแก้วสารพัดนึกเพศเมียมีใบเรียวยาวและขอบใบเรียบ ซึ่งแตกต่างกับแก้วสารพัดนึกเพศผู้ที่มีใบใหญ่และขอบใบหยักนั่นเอง

 

ลักษณะของอโลคาเซีย แบมบิโนด่าง

Bambi 02

          อโลคาเซีย แบมบิโนด่างเป็นไม้ฟอกอากาศขนาดเล็ก ขนาดไม่เกิน 40 เซนติเมตร ลำต้นสีขาว ใบเรียวแหลม ตัวใบมีสีเขียวเข้ม ตัดกับเส้นใบสีเส้นเงินช่วยให้ดูสวยสะดุดตามากขึ้น มีด่างขาวแต้มอยู่บนใบ ซึ่งแต่ละต้นจะมีด่างขาวแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังเหมาะแก่การนำมาประดับตกแต่งพื้นที่ภายในอาคารหรือบ้าน เพราะสามารถช่วยดูดสารพิษและฝุ่นละอองทำให้อากาศปลอดโปร่งดีต่อสุขภาพผู้อยู่อาศัย

 

วิธีดูแลต้นอโลคาเซีย แบมบิโนด่าง

Bambi 03

          เนื่องจากเป็นพื้นที่มีต้นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนชื้นทำให้อโลคาเซีย แบมบิโนด่างนั้นชอบแสงแดดและความชื้น ควรปลูกไว้ในที่แสงส่องถึงและรดน้ำประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อรักษาความชุ่มชื้นแต่ไม่ควรรดจนแฉะเพราะจะทำให้รากเน่าได้ วัสดุปลูกควรใช้วัสดุที่ระบายน้ำได้ดีอย่างขุยมะพร้าวผสมกับดินร่วน หรือจะใช้ปุ๋ยเพื่อให้เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้

          เป็นไงกันบ้างคะสำหรับเจ้าอโลคาเซีย แบมบิโนด่างที่เราได้แนะนำให้ทุกคนรู้จักไป เริ่มอยากได้แล้วใช่ไหมคะ? ไม้ฟอกอากาศดูดีมีสไตล์ ประดับตรงไหนก็ดูดีแบบนี้ต้องมีสักต้นแล้ว! สุดท้ายนี้ ถ้าหากคุณกำลังมองหาต้นอโลคาเซีย แบมบิโนด่างสักต้น แต่ยังลังเล เลือกไม่ถูก ไม่เข้าใจ เรายินดีให้คำปรึกษาและจัดหาต้นไม้ที่ดีที่สุดเพื่อส่งออกจากไทยให้แก่คุณค่ะ

 

แล้วเจอกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีค่าาา

 

อ้างอิง

Alocasia: houseplant ดั้งเดิม ทุกอย่างเกี่ยวกับการทำสวน

รู้จัก “แก้วสารพัดนึก” ไม้มงคลกำลังมา ต้นตัวผู้กับตัวเมียต่างกันอย่างไร

Share this:
M.E. Greenery Export
0 thoughts on ““อโลคาเซีย แบมบิโนด่าง” ไม้ฟอกอากาศเจ้าเสน่ห์ที่ทุกคนหมายปอง”

Leave a Comment

Your email address will not be published.