ไม่มีสินค้าในตะกร้า
DATE : มิถุนายน 7, 2024 By : admin
เว็บไซต์เราอัพเดตไม้เพิ่มเข้ามาใหม่แล้วน้าาาา แถมยังมีไม้สวย ๆ รอให้ทุกคนมารู้จักอีกมากมายอย่างเช่น “โฮย่า (Hoya)” หากใครได้เข้ามาชมเว็บไซต์เราแล้วสะดุดตากับไม้ที่ชื่อโฮย่า แต่ยังไม่รู้ว่าเจ้าไม้สกุลนี้มีที่มาที่ไปยังไง จุดเด่นของมันคืออะไร วันนี้เราจะมาแนะนำไม้สกุลโฮย่าให้ทุกคนได้หายสงสัยกันค่ะ เอาละ ถ้าพร้อมที่จะรู้จักกับสิ่งที่ทำให้เจ้าโฮย่าสวยงามน่าหลงไหลแล้วก็ตามมาดูกันเล้ยยยยย
“โฮย่า (Hoya)” มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหลายประเทศของทวีปเอเชียเช่น ออสเตรเลีย บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวกินี โพลินีเซีย ไทย และเวียดนาม โฮย่าถูกค้นพบครั้ังแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1800 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวยุโรประหว่างการเดินทางไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างโฮย่าที่บันทึกไว้ครั้งแรกถูกรวบรวมในประเทศฟิลิปปินส์ปี พ.ศ. 2334 ที่มาของชื่อโฮย่าถูกตั้งโดย ‘โรเบิร์ต บราวน์’ นักพฤกษศาสตร์ชาวสกอตเพื่อเป็นเกียรติแก่นักพฤกษศาสตร์ที่ชื่อ ‘โทมัส ฮอย’ ซึ่งเป็นเพื่อนของเขานั่นเองค่ะ
เมื่อรู้จักที่มาของโฮย่ากันแล้ว ต่อไปเราจะมาแนะนำลักษณะคร่าว ๆ ของโฮย่าให้อ่านกันค่ะ
โฮย่าเป็นไม้เลื้อย อยู่ในวงศ์ Asclepiadaceae จุดเด่นของไม้สกุลนี้คือใบที่มีรูปร่างหลากหลาย เช่น รูปทรงกลม รูปหัวใจ รูปไข่ ฯลฯ บางชนิดมีแผ่นใบหนาอวบน้ำหรือมีขนปกคลุม ขนาด 0.2 – 20 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเลื้อยพันและมีรากออกตามลำต้นค่ะ
หลังจากได้รู้จักที่มาและหน้าตาของโฮย่าแล้ว หากใครกำลังสนใจอยากได้โฮย่ามาปลูกสักต้น เราก็มีโฮย่าน่าสนใจมานำเสนอให้ทุกคนได้ลองอ่านและตัดสินใจก่อนเลือกซื้อกันค่า
มาเริ่มกันที่โฮย่าต้นแรกกันเลยดีกว่าค่ะ โฮย่า อาร์เจนเทีย ปริ้นเซส (Hoya Argentea princess) หรือ Hoya Carnosa ‘Argentea Princess’ เป็นไม้ตระกูล Apocynaceae จุดขายของเจ้าโฮย่าต้นนี้คือนอกจากจะเป็นไม้หายากแล้ว มันยังมีรูปลักษณ์น่าทะนุถนอมสมชื่อเจ้าหญิงอีกด้วยค่า เนื่องจากมีใบสีเขียวอ่อนขนาดเล็กพร้อมด่างสีเหลืองพาสเทลช่วยให้ดูมีชีวิตชีวา แถมยังออกดอกขนาดเล็ก ๆ คล้ายกับกลุ่มก้อนของหมู่ดาวทั้งหลาย การดูแลก็ไม่ยุ่งยากเพราะเจ้าโฮย่า อาร์เจนเทีย ปริ้นเซสสามารถสัมผัสกับแสงแดดผ่านหน้าต่างได้โดยตรง เหมาะกับการประดับตกแต่งห้องสุด ๆ เลยค่า หากใช้วัสดุปลูกที่สามารถระบายน้ำและกักเก็บความชื้นได้ดีก็หมดห่วงเรื่องรักษาความชื้นได้เลย เพียงแค่รดน้ำสม่ำเสมอเมื่อหน้าดินเริ่มแห้ง หรือรดน้ำตอนเช้าในตอนแดดอ่อน ๆ เพื่อรักษาความอุ่นก็ได้ค่ะ ถ้าได้ลองนำโฮย่า อาร์เจนเทีย ปริ้นเซสมาประดับบ้านรับรองจะช่วยให้บรรยากาศในบ้านดูสดชื่นขึ้นแน่นอนค่า
สายแฟนซีเชิญทางนี้เลยค่า เจ้าโฮย่าตัวที่สอง “โฮย่าหางปลาอัลโบ้ขอบนอก (Hoya Polyneura Albo Out)” มีความแฟนตาซีเหมือนในเทพนิยายสุด ๆ เนื่องจากมีใบสีเขียวรูปร่างคล้ายหางปลา จึงถูกเรียกว่าโฮย่าหางนางเงือก (Mermaid’s tale Hoya) นั่นเองค่ะ ขอบใบสีขาวตัดกับตัวใบสีเขียวเข้มด้านใน ดอกของมันมีขนาดเล็กรูปร่างคล้ายดาวและมีสีเหลืองครีมรวมถึงสีแดงเข้มอยู่ตรงกลาง ดอกของเจ้าโฮย่าตัวนี้สามารถผลิบานตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงท้ายของหน้าร้อนเลยค่า ถ้าหากใครอยากชมใบและดอกสวย ๆ ของโฮย่าหางปลาอัลโบ้ขอบนอก ให้ทำตามวิธีดูแลง่าย ๆ เลยค่ะ ใช้วัสดุปลูกที่ระบายน้ำและเก็บความชื้นได้ดี รดน้ำสม่ำเสมอเมื่อหน้าดินเริ่มแห้ง โฮย่าสามารถโดนแดดผ่านหน้าต่างโดยตรงได้แต่ก็ไม่ควรให้สัมผัสแดดแรงจนเกินไป หากทำตามนี้รับประกันได้เลยค่ะว่าคุณจะได้ชมความงามของโฮย่าหางปลาอัลโบ้ขอบนอกแน่นอนนน
มาถึงโฮย่าต้นสุดท้าย “โฮย่ากระดุมแดง (Hoya Pubicalyx Silver Pink)” บอกเลยว่าเจ้าต้นนี้ก็พิเศษไม่แพ้โฮย่าต้นก่อนหน้าค่ะ เพราะลักษณะเด่นของโฮย่าต้นนี้คือใบสีเขียวเข้มแวววาว ดอกสีแดงอมชมพูสวยสะดุดตาขนาดเล็กรวมตัวกันจนดูคล้ายกับรูปร่างของร่ม จะสายเข้มหรือสายหวานก็เอาอยู่หมด วิธีดูแลโฮย่ากระดุมแดงก็ง่ายมากค่ะ สามารถปลูกไว้ริมหน้าต่างให้รับแสงแดดโดยตรงได้เลย รดน้ำสม่ำเสมอเมื่อสังเกตุเห็นว่าหน้าดินเริ่มแห้ง รักษาความชื้นด้วยการใช้วัสดุปลูกที่สามารถระบายน้ำและกักเก็บความชื้นได้ดี เท่านี้เจ้าโฮย่ากระดุมแดงของคุณก็จะเติบโตอย่างสวยงามพร้อมทำให้บรรยากาศในบ้านของคุณน่าอยู่ยิ่งขึ้นแล้วค่า
เป็นไงกันบ้างคะสำหรับ “โฮย่า (Hoya)” ที่เราได้แนะนำให้ทุกคนไป หากใครที่กำลังมองหาไม้ใบสวยพร้อมดอกงาม ๆ อยู่ ห้ามพลาดโฮย่าเลยค่า สุดท้ายนี้หากคุณกำลังมองหาโฮย่า อาร์เจนเทีย ปริ้นเซส (Hoya Argentea princess) โฮย่าหางปลาอัลโบ้ขอบนอก (Hoya Polyneura Albo Out) และโฮย่ากระดุมแดง (Hoya Pubicalyx Silver Pink) แต่ยังลังเล เลือกไม่ถูก ไม่เข้าใจ เรายินดีให้คำปรึกษาและจัดหาต้นไม้ที่ดีที่สุดเพื่อส่งออกจากไทยให้แก่คุณค่ะ
แล้วเจอกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีค่าาา
อ้างอิง:
0 thoughts on “มารู้จักกับ “โฮย่า (Hoya)” สกุลไม้ที่มีเอกลักษณ์หลากหลายกัน!”